2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อน Weakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(1.1) มีพื้นที่กว้างไม่สามารถปกครองได้อย่างทั่วถึง
(1.2) ชาวบ้านที่เข้ามาอยู่อาศัยไม่ถาวร
(2) จุดแข็ง Strength คือ
ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(2.1) มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
(ชรบ.) ที่เข้มแข็ง
(2.๒) มีศูนย์ไอทีประจำหมู่บ้าน
ให้เยาวชนมาค้นคว้าหาความรู้
(๒.๓) สังคมความเป็นอยู่แบบพหุวัฒนธรรม
(๒.๔) มีชมรมชมรม To be number one
(๒.5) มีกลุ่มสตรี
(๒.5) มีกองทุนหมู่บ้าน
ด้านเศรษฐกิจ
- มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชน
- ผู้คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพค้าขาย และอาชีพรับจ้าง
ด้านสังคม(เด็ก
เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
- ประชานมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
- ประชาชนมีความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของหมู่บ้าน
- ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันถ้อยที่ถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน
- หมู่บ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความสุขเด็กในพื้นที่ส่วน
ใหญ่ได้รับการศึกษาและอยู่ในระบบโรงเรียน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
- หมู่บ้านมีการทำฝายกันน้ำ
กักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
- สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่มีความพร้อม
และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่ม มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ด้านสาธารณสุข
- ประชาชนในหมู่บ้านใช้เวลาในช่วงเย็นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอส่งผลทำให้สุขภาพ แข็งแรง
2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1)
โอกาส
Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(1.1) นโยบายของรัฐให้ความสำคัญและเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ
(1.2) รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินทุนให้กับหมู่บ้านในรูปของ
กองทุนหมู่บ้านและ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(1.3) โครงการส่งเสริมอาชีพจากกศน.
/ กรมแรงงาน
(1.4) โครงการต่าง ๆ
ที่เข้ามาในหมู่บ้าน เช่น พนม.
(2) อุปสรรค Threat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(2.1) ขาดการส่งเสริมและการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2.2) ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
(2.3)
การเลือกตั้งเป็นตัวสร้างปัญหาของความแตกแยกของคนในหมู่บ้าน
(2.4) ประชาชนไม่มีความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สิน
(๒.๕)
การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน
“หมู่บ้านน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง
อยู่อย่างพอเพียง
2.4 ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
เพื่อให้หมู่บ้าน เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล
สามารถแก้ไขปัญหา พัฒนา ตลอดจนตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.5 กลยุทธ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
กลยุทธ์ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเสริมสร้างมาตรการความปลอดภัยในหมู่บ้านและ
การป้องกันปัญหายาเสพติดเยาวชน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีการส่งเสริมงานด้านสาธารณสุขในหมู่บ้าน
ให้ปราศจากโรคต่างๆ โดยมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ 3. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยไม่เผาป่า และการบริหารจัดการขยะในหมู่บ้านให้มีความเรียบร้อย
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว
ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ SWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น